วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ครั้งที่ 3

 อนุทินครั้งที่ 3

22 มกราคม 2564


นำเสนอ 

คำถามของกลุ่ม แปดมกรา
1.ถ้าหากว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่มีลูกติดแท็บเล็ตคุณจะมีวิธีการดึงดูดความสนใจเด็กออกจากแท็บเล็ตอย่างไร
2.ผู้ปกครอง จะมีวิธีในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้ลูกอย่างไรจึงจะเหมาะสมและเกิดประโยชน์มากที่สุด
3.ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดจากการที่เด็กติดสื่อและเทคโลยี มีอะไรบ้าง
4.เทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง
5.ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้สื่อ เทคโนโลยี คุณจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะให้เด็กใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม
คำถามจากเพื่อน
1.เราจะมีวิธีอย่างไรให้ลูกเดินไปในทางสื่อสีขาวมากขึ้น
2.ความเหมาะสมขอบสื่อเทคโนโลยี นี่ต้องใช้อย่างไรหรอะ
3.ถ้าเด็กติดเทคโนโลยรจนเกิดเป็นนิสัยไม่พึงประสงค์แล้ว เล่น นิสัยเอาแต่ใจ รออะไรนานๆไม่ได้ควรแก้ไขยังไง
4.เด็กสามารถเล่นกับมือถือได้ประมาณกี่นาทีหรือควรใช้เวลาเท่าไหร่










🌻 คำถามของกลุ่ม แปดมกรา
🐣1.ถ้าหากว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่มีลูกติดแท็บเล็ตคุณจะมีวิธีการดึงดูดความสนใจเด็กออกจากแท็บเล็ตอย่างไร ?
👉 ตอบ : กำหนดกติกาการเล่นมือถือ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นมือถือเพลินแบบไม่มีกำหนดเวลานะคะ แต่คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นผู้ควบคุมการเล่นของลูก โดยมีการกำหนดกติกากันก่อนว่า จะให้ลูกเล่นได้นานแค่ไหน เช่น ลูกเล่นได้ 1 ชั่วโมงเท่านั้น และควรจริงจังกับเวลาที่ตกลงกันด้วย ไม่ปล่อยให้ลูกเล่นเกินเวลา เพราะจะทำให้ลูกไม่เชื่อถือในคำพูดของคุณได้ค่ะ โดยปกติแล้วสำหรับเด็กเล็กๆ ควรให้เวลาเล่นมือถือไม่เกิน 1 ชั่วโมงค่ะ
🐣2.ผู้ปกครอง จะมีวิธีในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้ลูกอย่างไรจึงจะเหมาะสมและเกิดประโยชน์มากที่สุด ?
👉 ตอบ : ปัจจุบันเด็กสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น พ่อแม่และครูจึงควรใส่ใจในการใช้เทคโนโลยีของเด็กเล็กเป็นพิเศษ เทคโนโลยีมีข้อดีอยู่หลายประการ และอยู่ในความสามารถที่เด็กจะฝึกฝนการใช้งานได้ เทคโนโลยีสามารถช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้เรื่องการอ่าน A - Z โดยให้เด็กดูผ่านแอปพลิเคชั่นที่สามารถส่องไปบนหนังสือ (Ar Book) เด็กๆจะเพลิดเพลินกับภาพและเสียง ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถใช้ได้ทั้งที่บ้าน และห้องเรียน เช่น พ่อแม่และครูสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น แล้วสามารถนำไปเปิดที่บ้านและโรงเรียนได้ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาแทนที่วิธีการสอนเด็กระดับปฐมวัยทั้งหมด เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนให้ดีขึ้น และเป็นสื่อกลางที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้
🐣 3.ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดจากการที่เด็กติดสื่อและเทคโลยี มีอะไรบ้าง ?
👉 ตอบ : เด็กขาดทักษะทางสังคมในการเล่นและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น สายตาของเด็กมีปัญหาเพิ่มขึ้น เลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวจากบุคคลในโซเชียล ติดสื่อเทคโนโลยีจนเกินความจำเป็น มีสภาวะสมาธิสั้นก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลงเนื่องจาก กระบวนการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ลงมือปฏิบัติผ่านการเล่น
🐣 4.เทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง ?
👉 ตอบ : ขอบเขตของการพัฒนาทางกายจำกัดและลดลง การมุ่งเอาชนะจนในที่สุดอาจกลายเป็นพฤติกรรมประจำตัวของเด็ก ความสามารถในการปรับตัวมีน้อยลง การคิดวิเคราะห์น้อยลง ขาดการสืบเนื่องทางความคิด ส่งผลต่อการใช้เหตุผล
🐣 5.ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้สื่อ เทคโนโลยี คุณจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะให้เด็กใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม ?
👉 ตอบ : ผู้ปกครองควรจัดสรรเวลาให้เด็กได้ใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นเวลา ตั้งกฎข้อตกลงกันในครอบครัว และหากิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ภายในครัว เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่านิทาน การอ่านหลังสือ และการทำอาหารร่วมกัน ถ้าเป็นไปได้ขณะที่ลูกใช้สื่อเทคโนโลยี เราควรดูไปกับเขาและขณะเดียวกันคอยให้คำแนะนำ การตั้งคำถามให้เด็กได้เกิดกระบวนการคิดจะเป็นการเพิ่มการเรียนรู้ให้เด็กไปในตัว

🍀 คำถามจากเพื่อน
🐣 1.เราจะมีวิธีอย่างไรให้ลูกเดินไปในทางสื่อสีขาวมากขึ้น ?
👉 ตอบ : ให้สื่อเป็นครูทางเลือกอีกทางนึงที่สอนให้เด็กตั้งหลักกับเป้าหมายชีวิตและแรงบัลดาลใจกับกับการเรียนการใช้ชีวิตในอนาคต
🐣 2.ความเหมาะสมของสื่อเทคโนโลยี ควรต้องใช้อย่างไรจึงจะอยู่บนความเหมาะสม ?
👉 ตอบ : ความเหมาะสมของสื่อเทคโนโลยี การพจิารณาด้านความเหมาะสมของสื่อเทคโนโลยีเป็นสิ่งเป็น เพราะสื่อเทคโนโลยีต้องช่วยพัฒนาเด็กทั้ง ด้านสติปัญญาและทางสังคมควบคู่กันไป การใช้สื่อเทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยควรใช้ในลักษณะเป็นอุปกรณ์การเรียนรู้ หรือเรียนแบบร่วมมือเพื่อลดการแยกตัวของเด็ก
🐣 3.ถ้าเด็กติดเทคโนโลยีจนเกิดเป็นนิสัยไม่พึงประสงค์แล้ว เล่น นิสัยเอาแต่ใจ รออะไรนานๆ ไม่ได้ควรแก้ไขยังไง ?
👉 ตอบ : ควรเริ่มต้นที่ครอบครัวจะเป็นทางที่ดีค่ะและควรค่อยลดเวลาการเล่น กำหนดข้อตกลง สมมติ ถ้าเกิดวันนี้เล่นเกินเวลาที่กำหนด เราก็จะบอกเด็กว่างั้นพรุ่งนี้จะงดเวลา หรืองดกิจกรรมทางเทคโนโลยี และอาจมีวิธีแสดงให้เด็กเห็นถึงโทษของผลเสียในการติดเทคโนโลยี อาจจะเป็นนิทานหรือคลิปการ์ตูนที่เข้าใจง่าย
🐣 4.เด็กสามารถเล่นกับมือถือได้ประมาณกี่นาทีหรือควรใช้เวลาเท่าไหร่ ?
👉 ตอบ : เด็กอายุระหว่าง 1-3 ปี เด็กในวัยนี้ยังไม่ควรที่จะใช้โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าหากจะต้องใช้จริง ๆไม่ควรใช้โทรศัพท์ หรืออินเตอร์เน็ตเกิน 15 นาทีเป็นอย่างมาก
เด็กอายุระหว่าง 3-6 ปี ไม่ควรใช้โทรศัพท์ หรืออินเตอร์เน็ตไม่เกิน 30 นาทีเป็นอย่างมาก และระหว่างที่เด็กเล่นโทรศัพท์ หรือแท็บเล็ตควรมีผู้ปกครองดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิด

🍃ความรู้ที่ได้รับ 🍃
ความรู้ในเรื่องสัมนา ในหัวข้อต่างๆ ได้ความรู้เนื้อหาอย่างมากมาย
🍃ทักษะที่ได้รับ 🍃
ได้รับทักษะการพูด การฟัง การเป็นเป็นวิทยากร พิธีกร ที่ถูกต้องและเหมาะสม
🍃ความรู้ที่นำไปใช้🍃
นำไปปรับใช้กับ การทำงานในอนาคต การพูดที่เหมาะสมกับการทำงาน


🍃คำศัพท์🍃
1.Motiration แรงจูงใจ
2.Chance โอกาส
3.Learning การเรียนรู้
4.Convenience ความสะดวก
5.Experiment ทดลอง

ผู้บันทึก
นางสาวณัฏฐา กล้าการนา












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ครั้งที่ 14

 อนุทินครั้งที่ 14 โครงงานสัมนา เรื่อง เล่าสนุก ฉุกจินตนาการ